ลักษณะของนก 50 ชนิด

 

220px-Great-Crested-Grebe_cropped

ชื่อสามัญ : นกเป็ดผีใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ : Great Crested Grebe
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim lặn mào lớn
ชื่อภาษามาเลเซีย : Petrel Crested Great
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Mahusay magkapalong grib                                                                           ชื่อภาษาบรูไน : Grebe jambul besar
ชื่อภาษากัมพูชา : –                                                                                                                            ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Grebe jambul besar                                                                                    ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Petrel Crested Great

เป็นนกน้ำในวงศ์นกเป็ดผี นกเป็ดผีใหญ่มีลำตัวยาว 46-51 ซม.ช่วงปีกกว้าง 59-73 ซม. ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง สามารถจับปลาจากใต้น้ำได้ ปากแหลมสีเนื้อแกทชมพู คอยาว หน้าผาก กระหม่อม ท้ายทอย หลังคอ และหลังสีน้ำตาลเข้ม มีแถบดำจากมุมปากถึงตา หน้า ข้างคอ และลำตัวด้านล่างสีขาว สีข้างน้ำตาลแกมแดง ในฤดูผสมพันธุ์จะมีหงอนฟูสีดำ ข้างแก้มมีขนยาวเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงและดำ ปากสีชมพูเข้ม
ลูกนกสังเกตได้ง่าย เนื่องจากหัวมีลายทางขาว-ดำ คล้ายม้าลาย และลายทางจะหายไปเมื่อโตเต็มวัย นกเป็ดผีใหญ่ผสมพันธุ์กันในบริเวณดงพืชน้ำในทะเลสาบน้ำจืดชนิดย่อย P.c.cristatus พบในยุโรปจรดเอเชีย เป็นนกประจำถิ่นในบริเวณการกระจายพันธุ์ค่อนไปทางตะวันตก ในบริเวณที่เหลือจะเป็นนกอพยพจากพื้นที่หนาวเย็น ในฤดูหนาวจะพบได้ตามทะเลสาบน้ำจืดและอ่างเก็บน้ำหรือชายฝั่ง ชนิดย่อย P. c. infuscatus ในแอฟริกาและชนิดย่อย P. c. australis ในออสเตรเลียมักอยู่ประจำถิ่น

220px-Re-tail

ชื่อสามัญ : นกร่อนทะเลหางแดง หรือ นกนวลหางยาว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Red-tailed tropicbird
ชื่อภาษาเวียดนาม : Red-tailed Tropicbird- hoặc đất sét chim đuôi.
ชื่อภาษามาเลเซีย : Merah berekor Tropicbird atau tanah liat ekor burung.
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Red-tailed tropicbird o clay ibon buntot
ชื่อภาษาบรูไน : Buntut-sate merah atau tanah liat burung ekor.
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Buntut-sate merah atau tanah liat burung ekor.
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Merah berekor Tropicbird atau tanah liat ekor burung
เป็นนกทะเลที่พบในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในกลุ่มนกร่อนทะเลที่พบเห็นได้ยากแต่ยังมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างจึงยังไม่จัดว่าถูกคุกคาม อยู่เป็นอาณานิคมทำรังวางไข่บนเกาะกลางทะเล นกร่อนทะเลหางแดงคล้ายนกนางนวลแกลบและมีลักษณะใกล้เคียงกับนกร่อนทะเลอีก 2 ชนิดที่เหลือ ยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 46.0-48.0 เซนติเมตร นกที่โตเต็มวัยแล้วมีขนหางคู่กลางยื่นยาวเลยขนหางคู่อื่นออกไปมาก ปากหนาแหลมและแข็งแรง แบนข้าง สันปากบนโค้งลงเล็กน้อย ขอบปากบนหยักเป็นฟันเลื่อย ความยาวของปากไล่เลี่ยกับความยาวของหัว หัวโต คอสั้น ใต้คอเป็นหนังเปลือยเปล่า รูจมูกเป็นรูปรี ปีกยาว แข็งแรงและปลายปีกแหลม หางเป็นรูปลิ่ม ขนปลายปีกมี 11 เส้น ขาสั้นและอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว นิ้วตีนทั้งสี่หันไปข้างหน้าและมีแผ่นพังผืดขึงระหว่างนิ้วทั้งสี่ตลอดความ ยาวของนิ้ว แต่นิ้วที่ 1 (นิ้วตีน) อยู่สูงกว่านิ้วอื่น เล็บโค้งแหลมคมโผล่พ้นแผ่นพังผืดออกมา ลำตัวสีขาวอาจปนสีชมพูจางๆ ขนหางคู่บนสุดยื่นยาวเลยขนหางคู่อื่นออกไปมาก สีชมพูเข้มหรือแดง มีแถบสีดำขวางปากทางด้านหน้าของรูจมูก ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มสีดำที่โคนปีกและสีข้าง และมีแถบสีดำพาดผ่านตา ขาและโคนนิ้วเท้าสีฟ้าอ่อน ที่เหลือสีดำ นกร่อนทะเลหางแดงทำรังบนเกาะในมหาสมุทรเป็นอาณานิคมขนาดใหญ่จากหมู่เกาะฮาวายถึงเกาะอีสเตอร์และข้ามไปถึงประเทศมอริเชียสและเรอูนียง มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง เคยมีการพบนกที่ใส่ห่วงขาจากฮาวายไกลถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศฟิลิปปินส์ มีพิสัยจากทะเลแดงถึงประเทศนิวซีแลนด์และประเทศชิลี ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

240px-Pelecanus_philippensis_(Spot-billed_Pelican)

ชื่อสามัญ : นกกระทุง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Spot-billed pelican
ชื่อภาษาเวียดนาม : Con chàng bè
ชื่อภาษามาเลเซีย : Pelican
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Pelikano
ชื่อภาษาบรูไน : Pelican
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Pelican
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Pelican
นกน้ำขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระทุง (Pelecanidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ ที่พบได้ในประเทศไทย นกกระทุงเป็นนกขนาดใหญ่ มีความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 52-60 นิ้ว มีขาสั้นใหญ่ ปากยาวแบนข้างใต้มี ถุงสีออกม่วงขนาดใหญ่ บริเวณขอบปากบนมีจุดสีน้ำเงินเข้มอยู่เป็นระยะตามความยาวของจงอยปาก ตีนมีพังผืดสี เหลืองขึงเต็มระหว่างนิ้วทุกนิ้วคล้ายเป็ด ม่านตาสีแดง แข้งและเท้าสีเนื้อ สามารถว่ายน้ำได้ดี บินได้สูง ในฤดูผสมพันธุ์ ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินในช่วงบนของลำตัว ส่วนช่วงล่างจะเป็นสีขาว แต่ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปีก หางและส่วนใต้ลำตัว จะมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับนกกระทุงที่ยังไม่โตเต็มที่ ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างและสีสันเหมือนกัน นกกระทุงชอบอยู่เป็นฝูง กินปลา กุ้ง กบ สัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารและหาอาหารด้วยกัน ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เวลาที่มั นอยู่เฉย ๆ จะหันหน้าไปทางเดียวกันหมด เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง บางครั้งบินเป็นรูปตัว V ส่วนใหญ่จะบินเป็นรูปขั้นบันไดกว้าง ๆ รังสร้างด้วยกิ่งไม้ใหญ่ ๆ วางสานกันบนต้นไม้สูง ๆ ขนาดของรังมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 2 ฟุต วางไข่ครั้งละประมาณ 3 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ประมาณ 4-5 อาทิตย์ จึงฟักเป็นตัว ชาวยุโรปในยุคกลางเชื่อกันว่านกกระทุงเลี้ยงลูกอ่อนด้วยเลือดของมันเองโดยใช้ปากเจาะเลือดจากอกของมัน

 

220px-Little_Cormorant_(Phalacrocorax_niger)_in_Hyderabad_W_IMG_8389

ชื่อสามัญ : นกกาน้ำเล็ก
ชื่อภาษาอังกฤษ : Little cormorant
ชื่อภาษาเวียดนาม : –
ชื่อภาษามาเลเซีย : Microcarbo
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : –
ชื่อภาษาบรูไน : Microcarbo
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Microcarbo
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Microcarbo
เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracidae) เป็นนกกาน้ำขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 360-525 กรัม ความกว้างระหว่างปลายปีกทั้งสอง 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนตามลำตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน ตรงปีกมีสีน้ำตาลปน บริเวณรอบตามีจุดสีขาวขนาดเล็ก ใต้คางมีสีครีม แต่ขนชุดนอกและในฤดูผสมพันธุ์แตกต่างกัน นอกฤดูผสมพันธุ์ ปากสีเนื้อแกมเทาหม่น ขนทั่วทั้งหัว, ลำคอ, ลำตัว ปีกและหางสีน้ำตาลแกมดำ แต่ขนบริเวณไหล่และปีกสีค่อนข้างเทา แต่ขอบขนสีดำ คางค่อนข้างขาว ในฤดูผสมพันธุ์ ปากสีค่อนข้างดำ หัว, ลำคอ, อก, ท้อง, สีข้างและขนคลุมใต้โคนหางเปลี่ยนเป็นสีดำเหลือบน้ำเงินและเขียว บนกระหม่อมขนคลุมหู และท้ายทอยมีลายริ้วสีขาว พบกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกา และในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย, จีน, พม่า, อินโดจีน, มาเลเซีย, ชวา และในประเทศไทยพบทั่วไปทุกภาค จัดเป็นนกกาน้ำชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด
อาศัยอยู่ตามหนองบึง, แม่น้ำ, ลำคลอง หรือท้องนา จับปลาขนาดเล็กจำพวกปลาตะเพียนกินเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ชอบอยู่ตามลำพัง บางครั้งอาจพบอยู่รวมกันเป็นฝูงบ้าง ชอบดำน้ำไล่จับปลาเป็นอาหาร เมื่อขึ้นจากน้ำมักจะยืนกางปีกตากแดดให้ขนแห้ง
นกกาน้ำเล็กผสมพันธุ์ในราวเดือนกรกฎาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่รวมกันหลายรังบนต้นเดียวกัน ทำรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานไว้อย่างหยาบ ๆ และวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย

 

220px-Oriental_darter_(Anhinga_melanogaster)_21-Mar-2007_6-10-09_AM

ชื่อสามัญ : นกอ้ายงั่ว หรือ นกคองู
ชื่อภาษาอังกฤษ : Oriental darter; Snakebird
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim Cormorant hoặc rắn cổ
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Cormorant atau ular-leher
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : –
ชื่อภาษาบรูไน : Burung Cormorant atau ular-neck
ชื่อภาษากัมพูชา :
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Burung Cormorant atau ular-neck
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Cormorant atau ular-leher
เป็นนกน้ำชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกอ้ายงั่ว (Anhingidae) ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) (แต่บางข้อมูลจัดให้อยู่ในอันดับ Suliformes) ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ขนาดลำตัวยาวประมาณ 90-95 เซนติเมตร ปากตรง ปลายปากแหลม หัวเล็กคอยาวมาก ปีกยาว ปลายปีกค่อนข้างมน ขนปลายปีกเส้นที่ 2 และ 3 นับจากด้านนอกยาวที่สุด หางยาวแข็ง ปลายหางเป็นหางพลั่ว มีขนหาง 12 เส้น ขาค่อนข้างสั้นแต่ใหญ่ มีพังผืดนิ้วเป็นแบบตีนพัดเติม ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ตัวเต็มวัยหัวและคอสีน้ำตาล มีลายสีขาวคาดจากคางจนถึงข้างคอ ลำตัวสีดำ ช่วงไหล่ คอด้านบน และลำตัวด้านบนมีลายขีดสีเทาแกมสีเงิน ตัวไม่เต็มวัยสีจางกว่าตัวเต็มวัย หัวและคอสีขาว ลำตัวสีน้ำตาล มีลักษณะเด่น คือ มีลำคอยาวเรียวดูคล้ายงู จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า “นกคองู” เพราะขณะว่ายน้ำ ลำตัวทั้งหมดจะจมลงใต้น้ำ ชูเฉพาะคอและหัวขึ้นเหนือน้ำ ดูคล้ายกับงูที่อยู่ในน้ำมาก อยู่เป็นกลุ่มตามแหล่งน้ำ เช่น บึง, อ่างเก็บน้ำ, เขื่อน หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และอาจอยู่รวมกับนกและสัตว์ชนิดอื่น ว่ายน้ำและดำน้ำได้ดีมาก นอกจากนี้ยังบินได้ดี และชอบเกาะตามกิ่งไม้แห้งใกล้กับแหล่งน้ำหากินหรือบริเวณแหล่งอาศัย เพื่อผึ่งแดดหรือไซ้ขนหลังจากว่ายน้ำและดำน้ำหาอาหาร

ผากสีทอง

ชื่อสามัญ : นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Leafbird golden forehead
ชื่อภาษาเวียดนาม : Trán vàng nhưng ít hoặc không
ชื่อภาษามาเลเซีย : Dahi emas Leafbird
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Leafbird golden noo
ชื่อภาษาบรูไน : Dahi emas Leafbird
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Dahi emas Leafbird
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Dahi emas Leafbird
เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ชุกชุมตามป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง แต่ก็อาศัยอยู่ในป่าประเภทอื่นๆด้วย พบได้ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียไปจนถึงเวียดนาม และมีประชากรกระจายอยู่ในคาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยพบทั่วประเทศยกเว้นภาคใต้และที่ราบลุ่มภาคกลาง ตามป่าดิบนกชนิดนี้จะถูกแทนที่โดยนกเขียวก้านตองชนิดอื่น โดยเฉพาะนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า (Blue-winged Leafbird) ที่พบได้เกือบทั่วประเทศ
นกเขียวก้านตองชนิดนี้เป็นนักเลียนเสียงอันดับต้นๆในป่าเมืองไทยเลยทีเดียว มันมีเสียงร้องหลายแบบมาก เสียงร้องแบบหนึ่งที่ได้ยินกันบ่อยๆจะฟังดูคล้ายนกแซงแซวสีเทา (Ashy Drongo) แต่บทเพลงของมันอาจยาวมากโดยมีท่วงทำนองและจังหวะที่แทบไม่ซ้ำกันเลย อาหารโปรดของนกเขียวก้านตองคือผลไม้ โดยเฉพาะลูกไม้ขนาดเล็กและน้ำหวานดอกไม้ เรียกได้ว่าพวกมันทั้งช่วยกระจายเมล็ดและผสมเกสรให้ต้นไม้หลากหลายชนิด

 

220px-PittaMegarhychaGould

ชื่อสามัญ : นกแต้วแร้วป่าโกงกาง หรือ นกแต้วแร้วป่าชายเลน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Mangrove pitta
ชื่อภาษาเวียดนาม : Các khu rừng ngập mặn
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung bakau
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Mangrove linnut
ชื่อภาษาบรูไน : Burung bakau
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Burung bakau
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung bakau
เป็นนกแต้วแร้วชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของนกแต้วแร้วธรรมดา (P. moluccensis) แต่ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นชนิดต่างหากแยกออกมา ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษาละตินโดยคำว่า “megas” แปลว่า “ใหญ่” และ “rhynch” หรือ “rhunkhos” แปลว่า “ปาก” รวมความหมายคือ “นกที่มีปากใหญ่” นกแต้วแร้วป่าโกงกางเป็นนกขนาดเล็ก ความยาวจากปลายปากจดหาง 18-21 เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายนกแต้วแร้วธรรมดามาก เพียงแต่ว่านกแต้วแร้วป่าโกงกางบริเวณกระหม่อมเป็นสีน้ำตาลเข้มแทนที่จะเป็นสีดำเหมือนนกแต้วแร้วธรรมดา นอกจากนี้นกแต้วแร้วป่าโกงกาง จะมีปากที่ใหญ่และยาวกว่าโดยยาวประมาณ 4.0 เซนติเมตร ในขณะที่นกแต้วแร้วธรรมดามีปากยาว 3.0 เซนติเมตร ใต้ท้องสีคล้ำกว่า คางสีออกขาว การจำแนกชนิดให้ดูจากลักษณะสีของลำตัวประกอบกับพื้นที่หากิน อันเป็นอุปนิสัยเฉพาะของนกชนิดนี้เป็นส่วนสำคัญในการจำแนกชนิด

 

240px-Ardea_alba_(on_roof)

ชื่อสามัญ : นกยางโทนใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ : Great egret
ชื่อภาษาเวียดนาม : Diệc lớn
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Bangau Besar
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Mahusay uri ng ibon
ชื่อภาษาบรูไน : Besar Kuntul
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Besar Kuntul
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Bangau Besar
เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกยาง(Ardeidae) มีขนสีขาวตลอดตัว คอยาว มีลักษณะคล้ายนกยางโทนน้อย แต่ปากจะยาวกว่า หัวไม่กลมเหมือนนกยางโทนน้อย นกยางโทนใหญ่เป็นนกขนาดใหญ่มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 90 เซนติเมตร สีขาวตลอดตัว คอยาว ปากยาว แหลมมีสีเหลือง ตาเหลือง ไม่มีเปีย ขาและนิ้วเท้าดำ ในฤดูผสมพันธุ์มีขนประดับเป็นเส้นยาว ๆ อยู่บนหลังและยาวเลยหางออกไปเล็กน้อย นกยางโทนทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ในฤดูผสมพันธุ์ปากจะมีสีดำ
ในประเทศไทย นกยางโทนใหญ่พบได้ในทุกภาคของประเทศ ตามหนองน้ำ ที่ราบน้ำท่วมถึง และตามท้องนาในฤดูฝน เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยและมีบางส่วนเป็นนกอพยพ
นกยางโทนใหญ่หากินตามที่ราบที่น้ำท่วมถึง หนองบึง ทะเลสาบ และตามป่าชายเลน กินสัตว์น้ำ กบ เขียด แมลง และสัตว์ขนาดเล็กอื่นเป็นอาหาร นกยางโทนใหญ่ผสมพันธุ์ในฤดูฝนและอยู่กันเป็นฝูงชอบทำรังรวมกันอยู่บนต้นไม้ต้นเดียวกันกับนกยางชนิดอื่น รังทำด้วยกิ่งไม้แห้งๆ เล็กๆ ขัดสานกัน มีแอ่งตรงกลางสำหรับ เพศผู้และเพศเมียช่วยกันทำรัง กกไข่ และเลี้ยงดูลูก วางไข่คราวละ 3-4 ฟอง ระยะฟักไข่ 25-26 วัน
นกยางโทนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

 

220px-Anastomus_oscitans_-Kerala,_India-8_(1)

ชื่อสามัญ : นกปากห่าง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Open-billed stork
ชื่อภาษาเวียดนาม : Cò nhạn
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Botak Siput
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Asian openbill
ชื่อภาษาบรูไน : Paruh terbuka Asia
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Paruh terbuka Asia
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Botak Siput
นกปากห่าง (อังกฤษ: Open-billed stork, Asian openbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anastomus oscitans) จัดอยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) จัดเป็นนกในวงศ์นี้ขนาดเล็ก แต่จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครก็คือปากที่ยามหุบจะเหลือช่องตรงกลาง ทำให้มันคาบเปลือกหอยโข่งและหอยเชอรี่ที่ทั้งกลมทั้งลื่นได้อย่างช่ำชอง เมื่อจับหอยได้แล้วมันจะคาบไปหาทำเลเหมาะ ๆ เพื่อใช้จะงอยปากทำหน้าที่เหมือนแหนบจิกเนื้อหอยออกมากิน
ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน มีขายาว คอยาว ปากใหญ่ส่วนกลางของปากห่างออกเพื่อคาบหอยโข่งซึ่งกลมลื่นได้ ขนตามตัวมีสีขาวมอ ๆ หางมีสีดำแกมน้ำเงิน ขนปลายปีกมีสีเหมือนและเป็นแถบสีดำ นกปากห่างมีลำตัวยาว 32 นิ้ว ชอบอยู่เป็นฝูง ทำรังบนต้นไม้ ทำรังด้วยเรียวไม้แบบนกยางหรือรังกา ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ตัวผู้และตัวเมียจะผลัดกันกกไข่ ในการผสมพันธุ์ เวลาตัวผู้ขึ้นทับตัวเมียนั้น นกตัวผู้จะใช้เท้าจับขอบปีกหน้าของตัวเมียไว้แน่น ทั้งสองตัวจะกระพือปีกช่วยการทรงตัว ตัวผู้จะแกว่งปากของมันให้กระทบกับปากของตัวเมียอยู่ตลอดเวลาที่ทำการทับ ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ จะไม่มีขน หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีขนปุยขาว ๆ คลุม อีกราวเกือบ 2 เดือนก็มีปีกหางแข็งแรงแล้วก็เริ่มหัดบิน

 

นกกระสาคอขาวปากแดง

ชื่อสามัญ : นกกระสาคอขาวปากแดง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Stork red lips
ชื่อภาษาเวียดนาม : Cò Storm
ชื่อภาษามาเลเซีย : Upeh Storm
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : –
ชื่อภาษาบรูไน : Bangau Storm
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Bangau Storm
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Upeh Storm
นกกระสาคอขาวปากแดง (อังกฤษ:Storm’s Stork; ชื่อวิทยาศาสตร์:Ciconia stormi) เป็นนกกระสาชนิดที่พบเฉพาะทางภาคใต้ของประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ พบที่อุทยานแห่งชาติเขาสก
มีลักษณะคล้ายนกกระสาคอขาวแต่มีปากสีแดงสดบริเวณ หน้าสีส้มซีดๆ รอบตามีสีเหลืองทอง ขนปกคลุมที่คอ ช่วงบนสีขาว ถัดลงมาช่วงล่างสีดำ ปีกมีสีดำแกมเขียวซีดๆ พบในไทยและมาเลเซียแต่แยกกันเป็นคนละชนิดย่อย

 

250px-Leptoptilos_javanicus_1ส

ชื่อสามัญ : นกตะกรุม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Adjutant
ชื่อภาษาเวียดนาม : Trợ thủ
ชื่อภาษามาเลเซีย : Botak
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : –
ชื่อภาษาบรูไน : Ajudan
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Ajudan
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Botak
เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) มีถิ่นที่อยู่อาศัยในทวีปเอเชียทางตอนใต้ ตั้งแต่อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีนตอนใต้ และเกาะชวา มีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110-120 เซนติเมตร ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้นๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ จะงอยปากมีขนาดใหญ่สีออกเหลืองเลอะ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีแต้มสีแดงตรงบริเวณโคนปาก แข้งและเท้าสีน้ำตาลแกมเขียวจนถึงสีคล้ำเกือบดำ นกอายุน้อยขนสีดำค่อนข้างด้าน บนส่วนหัวและลำคอมีขนปกคลุมมากกว่านกโตเต็มวัย นกตะกรุม เป็นนกที่หากินสัตว์เล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งครึ่งน้ำอย่าง งู หรือ กบ, เขียด แต่จะไม่กินซากสัตว์เหมือนนกตะกราม มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำร่วมกับนกตะกรามและนกกระทุง วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ในช่วงปลายปี คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
นกตะกรุม เป็นนกที่ได้ยากมากในประเทศไทย เดิมเคยมีรายงานพบที่ จังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส และมีรายงานการทำรังแพร่ขยายพันธุ์ที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ที่จังหวัดพัทลุง และป่าพรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2522 แต่ปัจจุบันนี้ เหลือเพียงฝูงสุดท้ายแล้วที่เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา อันเป็นเกาะที่เงียบสงบ ห่างไกลจากการถูกรบกวนโดยมนุษย์ และมีรายงานพบ 2 ตัวที่เขตห้ามสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556
ปัจจุบัน นกตะกรุมเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

 

220px-Staphida_castaniceps_-_Doi_Inthanonม

ชื่อสามัญ : นกศิวะหางสีตาล หรือ นกศิวะหางตาล
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bar-throated minla, Chestnut-tailed minla
ชื่อภาษาเวียดนาม : Bar-throated Minla hoặc chim Shiva đuôi tan.
ชื่อภาษามาเลเซีย : Bar-throated minla atau burung Shiva ekor tan.
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Bar-throated minla o ibon Shiva buntot tan
ชื่อภาษาบรูไน : Bar-tenggorokan minla atau burung Siwa ekor tan.
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Bar-tenggorokan minla atau burung Siwa ekor tan.
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Bar-throated minla atau burung Shiva ekor tan
เป็นนกในวงศ์นกกินแมลงและนกกะราง (Timaliidae) พบในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 นกศิวะหางสีตาลเป็นนกที่มีขนาดปานกลาง ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ทางด้านบนของตัวมีสีเขียวมะกอก ด้านล่างมีสีอ่อนกว่าบนหลัง รอบตามีสีเหลือง หางและปีกบางส่วนมีสีน้ำตาลแกมแดง หน้าผากมีสีน้ำตาลแดง ที่คอมีลายขวางสีดำ มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ16-18.5 เซนติเมตร
มีหัวสีน้ำตาลอมส้มซึ่งค่อยๆจางลงจนกลมกลืนกับสีของหลัง ไหล่ สะโพกซึ่งเป็นสีเขียวอ่อนแกมเทา คางสีเหลืองเข้ม ใต้คอสีขาวมีลายบั้งสีดำขวางอยู่หลายๆบั้ง ทำให้ดูเหมือนเป็นนกที่มีคอลายๆ ปากสีน้ำตาลเข้ม ขนคลุมส่วนล่างของลำตัวเป็นสีเหลืองออกเขียวอ่อนนิดๆ ขนปีกมีสีเป็นชุดเดียวกับขนหางคือสีน้ำตาลแกมแดง ดำ และ ขาว มีจุดเด่นซึ่งเป็นที่มาของชื่อคือขนหางคู่บนสุดมีสีน้ำตาลแกมแดง ปลายหางเป็นสีขาวอมเหลือง ขอบขนและขนหางคู่อื่นเป็นสีดำ ตัวผู้และตัวเมียหน้าตาคล้ายคลึงกัน

 

220px-Cissa_chinensis_-Chiang_Mai_Zoo,_Thailand-8a      ทม

ชื่อสามัญ : นกสาลิกาเขียว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Green Magpie
ชื่อภาษาเวียดนาม : Xanh Magpie
ชื่อภาษามาเลเซีย : Green Magpie
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Green daldalero
ชื่อภาษาบรูไน : Hijau Magpie
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Hijau Magpie
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Green Magpie
เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา(Corvidae) มีขนาด 38 เซนติเมตร มีปากหนาสีแดงสด วงรอบตาสีแดงและมีแถบสีดำคาดเหมือนหน้ากาก บริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเหลือง ลำตัวด้านบนสีเขียวสด ใต้ท้องสีเขียวอ่อน ช่วงปีกตรงหัวไหล่เป็นสีเขียว ปลายปีกเป็นสีแดงเข้ม และตอนในของขนกลางปีกมีแถบสีดำสลับขาว ขาสีแดงสด ใต้หางมีสีดำสลับขาว และส่วนปลายหางจะเป็นสีขาว ร้องดัง “กวีก.ก..กวีก..ก..ก….”
กระจายพันธุ์ในเทือกเขาหิมาลัยในตอนเหนือของภาคตะวันออกของประเทศอินเดียไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านภาคกลางของประเทศไทย มาเลเซีย ถึงเกาะสุมาตราและทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ในป่าไม่ผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ
นกหากินเป็นคู่หรือเป็นฝูงตามต้นไม้และพื้นดิน กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก ลูกนก และไข่เป็นอาหาร ทำรังอยู่ตามง่ามไม้ รังทำจากกิ่งไม้ ใบไม้แห้ง และใบไผ่ วางซ้อนกันและสานไปมาเป็นรูปลักษณะถ้วยตื้นๆ ตรงกลางมีกิ่งไม้เล็กวางรองอีกชั้น ออกไข่ครั้งละ 4 – 6 ฟอง

 

220px-Blue-throated_Barbet_(Megalaima_asiatica)_on_Kapok_(Ceiba_pentandra)_in_Kolkata_W_IMG_4293      ทส

ชื่อสามัญ : นกโพระดกคอสีฟ้า
ชื่อภาษาอังกฤษ : Blue-throated barbet
ชื่อภาษาเวียดนาม : Megalaima asiatica
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Takur Muka Biru
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Blue-throated barbet
ชื่อภาษาบรูไน : Barbet biru-throated
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Barbet biru-throated
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Takur Muka Biru
เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกโพระดก (Megalaimidae) มีความยาวจากจะงอยปากจรดหางประมาณ 22-23 เซนติเมตร ขนปกคลุมลำตัวส่วนใหญ่สีเขียว บริเวณคาง ใต้คอ คอด้านข้าง และบริเวณหน้ามีสีฟ้า หน้าผากและตอนท้ายกระหม่อมเป็นสีแดง กลางกระหม่อมมีสีแถบสีดำพาดกลางและยาวลงมาทางด้านหน้าของหน้า ใต้คอตอนล่างที่เป็นสีฟ้ามีแต้มสีแดง นกทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย โดยไม่พบในประเทศไทยเพียงแค่ชนิดเดียว ซึ่งแตกต่างกันไปตามแถบสีดำส่วนหัว (ดูในตาราง)
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ในสถานที่ ๆ อาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่เป็นฝูงใหญ่ เป็นนกที่กินผลไม้และลูกไม้ป่า เช่น ไทร, มะเดื่อฝรั่ง เป็นอาหารหลัก ในยามที่อาหารขาดแคลนก็อาจกินหนอนหรือแมลง เป็นอาหารได้ เป็นนกที่ร้องเก่ง เสียงดัง โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์จะร้องบ่อยทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น เวลาร้องจะหมุนคอไปรอบทิศทาง ทำให้จับทิศทางของเสียงได้ยาก ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

 

220px-Indicator_archipelagicus_1838 ผึ่ง

ชื่อสามัญ : นกพรานผึ้ง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Malaysian honeyguide
ชื่อภาษาเวียดนาม : Honeyguide chim
ชื่อภาษามาเลเซีย : Honeyguide burung
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Honeyguide ibon
ชื่อภาษาบรูไน : Honeyguide burung
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Honeyguide burung
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Honeyguide burung
เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพรานผึ้ง (Indicatoridae) เป็นนกขนาดเล็ก (จะงอยปากถึงปลายหาง 17 เซนติเมตร) ลักษณะคล้ายนกปรอดมาก แต่จะงอยปากหนาและอวบกว่า จะงอยปากสีคล้ำแต่ปากล่างสีจางกว่า ลำตัวด้านบนสีเทาแกมเขียว ลำตัวด้านล่างขาว อกสีเทาแกมขาว ข้างลำตัวมีลายขีดดำ ตาสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลในนกวัยอ่อน ตัวผู้ที่หัวไหล่มีแถบเหลืองเล็ก ๆ ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้แต่ไม่มีแถบเหลือง มีเสียงร้องคล้ายแมว คือ “เมี้ยว” นกพรานผึ้ง เป็นนกที่กินผึ้ง, ตัวอ่อนของผึ้ง และขี้ผึ้งเป็นอาหาร รวมถึงตัวต่อ ถึงขนาดบุกเข้าไปกินถึงในรวงผึ้ง โดยที่ไม่ได้รับอันตรายจากเหล็กไนของผึ้ง ทั้งนี้เป็นเพราะมีปีกที่หนาที่เหล็กไฟผึ้งทำอันตรายไม่ได้ และมีผู้เชื่อว่ามีกลิ่นตัวแรงจนผึ้งไม่กล้าเข้าใกล้ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์
นกพรานผึ้ง เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นานครั้งจึงเห็นอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและเร็ว และเป็นนกประจำถิ่น จะอยู่ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งไปตลอด ต่อเมื่อนกตัวเก่าตายไป นกตัวใหม่ถึงเข้ามาอยู่แทน ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย

 

250px-Japanese_Quailญี่

ชื่อสามัญ : นกกระทาญี่ปุ่น หรือ นกคุ่มญี่ปุ่น
ชื่อภาษาอังกฤษ : Japanese quail or Japanese quail
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim cút Nhật Bản hoặc chim cút Nhật Bản
ชื่อภาษามาเลเซีย : Puyuh Jepun atau puyuh Jepun
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Hapon mapaurong sa takot o Hapon mapaurong sa takot
ชื่อภาษาบรูไน : Puyuh Jepang atau puyuh Jepang
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Puyuh Jepang atau puyuh Jepang
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Puyuh Jepun atau puyuh Jepun
เป็นนกจำพวกนกกระทาหรือนกคุ่มชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) มีรูปร่างตัวอ้วนกลม ขนเป็นลายเป็นจุดกระ ๆ สีขาว, สีทอง และขาวสลับดำ ปีกและหางสั้น บินได้เพียงระยะสั้น ๆ หากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ หากินตามพื้นดินเป็นหลัก
มีความยาวทั้งตัวจรดหาง 20 เซนติเมตร เป็นนกพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออก กระจายพันธุ์ในไซบีเรีย, ที่ราบสูงแมนจูเรีย, คาบสมุทรเกาหลี และญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทยถือเป็นนกอพยพ ที่หาได้ยากในธรรมชาติ
นกกระทาญี่ปุ่น ในปัจจุบัน ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยการนำเนื้อและไข่บริโภค โดยถือเป็นนกกระทาชนิดที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากที่สุด

 

220px-Asian_Blue_Quail_RWDคุ้ม

ชื่อสามัญ : นกคุ่มสี หรือ ไก่นา
ชื่อภาษาอังกฤษ : King quail, Blue-breasted quail, Asian blue quail
ชื่อภาษาเวียดนาม : Vua chim cút hoặc thịt gà
ชื่อภาษามาเลเซีย : Blue-dinobatkan tergantung burung kakak tua
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Hari mapaurong sa takot o manok
ชื่อภาษาบรูไน : Raja puyuh atau ayam
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Raja puyuh atau ayam
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Blue-dinobatkan tergantung burung kakak tua
เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) ตัวผู้มีสีสันเด่นกว่านกคุ่ม (Corturnix spp.) ชนิดอื่นมาก โดยบริเวณหน้าผาก, คิ้ว และด้านข้างของคอเป็นสีน้ำเงินแกมเทาบริเวณใต้ตามีแถบสีขาว 2 แถบ คอหอยสีดำและด้านล่างมีแถบใหญ่สีขาว อกและสีข้างเป็นสีน้ำเงินแกมเทา ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มมีลายจุดและลายขีดสีดำกระจายอยู่ ลำตัวด้านล่างส่วนที่เหลือเป็นสีน้ำตาลแดง ตัวเมียมีลำตัวด้านบนคล้ายกับตัวผู้ คอหอยสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างสีเนื้อแกมม่วง อกและสีข้างมีลายแถบสีออกดำ นิ้วสีเหลืองเข้ม พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, หมู่เกาะนิโคบาร์, ตอนใต้ของจีน, เกาะไต้หวัน, เกาะไหหลำ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมู่เกาะซุนดาใหญ่, ฟิลิปปินส์ จนถึงทวีปออสเตรเลีย
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในป่าหญ้า, ป่าละเมาะ และทุ่งโล่ง พบอยู่เป็นคู่หรือฝูงเล็ก ๆ หากินในเวลากลางวัน โดยหากินตามพื้นดิน ได้แก่ เมล็ดพืช และแมลงต่าง ๆ เช่น ปลวก เมื่อพบศัตรูซ่อนตามกอหญ้า ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังด้วยการขุดดินให้เป็นแอ่งเล็ก ๆ บริเวณที่เป็นซุ้มกอหญ้าหรือกอพืช อาจนำใบไม้หรือใบหญ้ามาวางในแอ่งเพื่อรองรับไข่ ออกไข่ครั้งละประมาณ 5-7 ฟอง
นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ในประเทศไทยมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ปา พุทธศักราช 2535

 

220px-BxZ_Polyplectron_malacense_00 แว่นตาล

ชื่อสามัญ : นกแว่นสีน้ำตาล
ชื่อภาษาอังกฤษ : Malayan Peacock-Pheasant
ชื่อภาษาเวียดนาม :-
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Hantu Bubu
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Brown ibon na mahaba ang balahibo
ชื่อภาษาบรูไน : Brown Pheasant
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Brown Pheasant
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Hantu Bubu
เป็นไก่ฟ้าขนาดกลางในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา เป็นญาติใกล้ชิดกลับนกแว่นบอร์เนียว (P. schleiermacheri) ซึ่งแต่เดิมถือเป็นชนิดเดียวกัน ก่อนจะแยกออกจากกันในภายหลัง นกแว่นสีน้ำตาลเป็นนกขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ มีรูปร่างและขนาดคล้ายนกแว่นสีเทาแต่เล็กกว่า คือมีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 56 – 76 เซนติเมตร สีทั่วตัวออกเป็นสีน้ำตาล แว่นมีสีเขียวอมเหลืองเหลือบม่วงแดง และจำนวนแว่นดูจะมีมากกว่านกแว่นสีเทา ขามีเดือยข้างละ 2 เดือย ตัวเมียไม่มีเดือย ขาสีเทา ตัวผู้หางอาจยาวกว่า 25 เซนติเมตร หัวมีพุ่มหงอนเป็นขนสั้นๆ สีเขียวแกมน้ำเงิน ผิวหน้ามีสีส้ม และจะมีหงอนยาวกว่านกแว่นสีเทา ตัวผู้หนัก 600-700 กรัม ตัวเมียหนัก 450-550 กรัม
พบในประเทศไทย แหลมมลายู สุมาตรา บอร์เนียว ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปตลอดแนวแหลมมลายู อาศัยในป่าทึบที่มีต้นไม้หนาแน่น หรือป่าไผ่

 

ดาวน์โหลด (7) หว้า

ชื่อสามัญ : นกหว้า
ชื่อภาษาอังกฤษ : Great argus, Double-banded argus
ชื่อภาษาเวียดนาม : Đại Argus
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Mas Padang
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Mahusay Argus
ชื่อภาษาบรูไน : Besar Argus
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Besar Argus
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Mas Padang
เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ขนสีน้ำตาล หัวและคอเป็นสีฟ้า พบในป่าของเกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา และ คาบสมุทรมลายูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกหว้าตั้งโดยคาโรลัส ลินเนียสซึ่งโยงถึงจุดคล้ายตาบนปีกจำนวนมาก โดยตั้งตามชื่อ อาร์กัส ยักษ์ร้อยตาในเทพปกรณัมกรีก เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเด่นชัด สีขนตามตัวส่วนใหญ่ออกเป็นสีน้ำตาล ไม่มีเดือยที่ขา ตัวผู้มีขนาดตัวยาว 170-200 เซนติเมตร ขนาดของตัวเมียยาว 74-76 เซนติเมตร มีส่วนของหัวและลำคอเป็นหนังเกลี้ยงสีฟ้าคราม แต่มีแถบขนแคบๆ สีดำ พาดตามยาวจากเหนือจะงอยปากไปตลอดแนวสันคด แถบขนบนหัวของนกหว้าตัวผู้ จะมีลักษณะเป็นแผงขนหนาสีดำเข้มกว่าของตัวเมีย และตรงส่วนท้ายของกระหม่อม แผงขนจะยาวกว่าส่วนอื่น
มีลักษณะเป็นขนหงอนตั้งเป็นสันขวานขึ้นมา ไม่เป็นพู่หงอนอย่างไก่ฟ้าและนกยูง แต่นกหว้าตัวเมียจะมีแถบขนบริเวณท้ายทอยลงมาเป็นเส้นขนยาวไม่เป็นระเบียบ สีขนไม่ดำเข้ม และเป็นแผงขนหนาอย่างตัวผู้ นอกจากนี้นกหว้าตัวผู้ยังมีขนปีกบินและขนหางใหญ่ยาวเป็นลักษณะเฉพาะเด่นสะดุดตา ขนปีกบินชุดในมีปลายเส้นขนแผ่กว้างเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม แถบเส้นขนด้านในมีลวดลายเป็นดอกดวงขนาดใหญ่ ขอบนอกเป็นสีน้ำตาลดำเข้ม ข้างในเป็นสีเหลือบออกเหลืองแกมน้ำตาลเรียงเป็นแถวจากโคนถึงปลายทุกอัน ดอกลายนี้ปกติจะมองไม่เห็น แต่จะเห็นได้เวลาที่นกหว้าแพนปีกออกเต็มที่ สำหรับขนหางเฉพาะขนหางคู่กลางจะมีขนาดใหญ่และยาวกว่าขนหางถัดออกไปมาก ถึงประมาณ 4 เท่าลำตัว และมีลวดลายเป็นแต้มจุดประเล็ก ขอบสีน้ำตาลเข้มตรงกลางสีขาว กระจายอยู่ทั่วไป[5] ร้องดัง “ว้าว ว้าว”

 

220px-Watercock ลุ้ม

ชื่อสามัญ : นกอีลุ้ม หรือ นกอีล้ม                                                                                                        ชื่อภาษาอังกฤษ : Watercock                                                                                                               ชื่อภาษาเวียดนาม : Cúm núm hay chim rơi
ชื่อภาษามาเลเซีย : Jam atau tiupan burung hantu
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Watercock o bumabagsak na mga ibon
ชื่อภาษาบรูไน : Burung Ayam-ayaman atau jatuh burung
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Burung Ayam-ayaman atau jatuh burung
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Jam atau tiupan burung hantu

เป็นนกน้ำในวงศ์นกอัญชัน พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน ไต้หวันเวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค รูปร่างเพรียว คอยาว นิ้วเท้ายาว หางสั้น นกอีลุ้มตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะมีขนตามตัวสีดำ ขนคลุมใต้โคนหางมีสีเหลืองอ่อน ที่หน้าผากมีเนื้อสีแดง ขาสีแดง หากเป็นช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีไปคล้ายคลึงกับตัวเมีย โดยขนตามลำตัวมีสีน้ำตาล ปากเหลือง ตรงหน้าผากไม่มีเนื้อสีแดง และขามีสีเขียว
พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน ไต้หวัน เวียดนาม กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ และไทย ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งนา หนองบึง ช่วงฤดูฝนมักอาศัยอยู่ตามท้องนา แต่ในฤดูแล้งจะไปหากินตามหนองบึง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
นกอีลุ้มกินเมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา ปู หอย เป็นอาหาร ผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ทำรังตามพงหญ้า และวางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง

 

220px-Porzana_cinerea_-_Bueng_Boraphet อัญ

ชื่อสามัญ : นกอัญชันคิ้วขาว
ชื่อภาษาอังกฤษ : White-browed Crake
ชื่อภาษาเวียดนาม : –
ชื่อภาษามาเลเซีย : Hawk Owl
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : White-browed crake
ชื่อภาษาบรูไน : Tikusan alis-putih
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Tikusan alis-putih
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Hawk Owl
เป็นนกอัญชันขนาดเล็ก นกชนิดนี้หากินตาม ทะเลสาบ บึง หนอง พรุ นากุ้ง นาข้าว ห้วย คลอง หรือ พื้นที่ที่ชุ่มน้ำต่างๆที่มีพืชลอยน้ำปกคลุมหนาแน่นในพื้นที่ราบ อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่เมล็ดของพืชน้ำ แมลง ไข่แมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็ก ๆ ที่หาพบได้ตามกอพืชรก ๆ หรือบริเวณชายน้ำในแหล่งน้ำที่อาศัย โดยนกจะเดินจิกกินไปเรื่อย ๆ พร้อมกับกระดกหางขึ้น ๆ ลง ๆ มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 19-21.5 เซนติเมตร มีตาสีแดง มีแถบสีดำลากผ่านคิ้วสีขาว ได้ตามีแถบสีขาวปากสีเหลืองอมเขียว โคนปากมีแต้มสีแดง หัวและอกสีเทา ท้องสีขาว ลำตัวต้านบนสีน้ำตาล มีจุดเด่นอยู่ที่แถบสีขาวคล้ายคิ้วและแถบสีขาวที่มุมปากถึงข้างแก้มตัดกับหน้าสีเทาและแถบตาสีดำ คอและท้องสีเทาปนขาว ท้องด้านล่างไปจนถึงก้นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง มีลายเกล็ดสีน้ำตาลดำขาและเท้าเหลืองแกมเขียว และโคนหางสีน้ำตาลแดงขาสีเขียวนกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน
มักพบเดินหาอาหารกินอยู่บนพืชน้ำหรือบริเวณชายน้ำ จะชอบเดินและวิ่งหาอาหารกินสลับกับหยุดเป็นระยะระยะ และชอบกระดกหางขึ้นลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถว่ายน้ำหากินได้ด้วย จะส่งเสียงร้อง จิ๊ก-จิ๊ก-จิ๊ก เสียงขึ้นจมูก ประมาณซ้ำ 10 – 12 ครั้ง ทะเลสาบ บึง หนอง พรุ นากุ้ง นาข้าว ห้วย คลอง บริเวณชายน้ำ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ นกประจำถิ่น พบได้บ่อย
ในประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ปาปัวนิวกินี บรูไน มาเลเซีย ไทย เวียดนาม ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว เขมร และประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิค อื่น ๆ เช่น ฟิจิ หมู่เกาะโซโลมอน เป็นต้น สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นพบได้ทุกภาค โดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ แต่อาจจะพบได้บ่อยแค่ในบางท้องที่

 

220px-Masked_Finfoot2 ฟุต

ชื่อสามัญ : นกฟินฟุต
ชื่อภาษาอังกฤษ : Finfoot, Masked finfoot, Asian finfoot
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chân bơi
ชื่อภาษามาเลเซีย : Kingfisher Hercules
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Lihim finfoot
ชื่อภาษาบรูไน : Pedendang topeng
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Pedendang topeng
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Kingfisher Hercules
เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Heliopais นกฟินฟุตจัดเป็นนกที่หากินในน้ำและอาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าชายเลน, ป่าพรุ ด้วยเป็นนกที่จับสัตว์น้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน,สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กินเป็นอาหาร มีขนหนาแน่นสีน้ำตาล แลดูคล้ายเป็ด ปากแหลมสีเหลือง ส่วนหน้าสีดำคล้ายสวมหน้ากาก คอยาวเรียวเล็ก ขาสีเขียว นิ้วเท้ามีทั้งหมด 4 นิ้ว มีพังผืดเชื่อมติดกัน ปกติมักอาศัยเพียงตัวเดียว หรือเป็นคู่ นกตัวผู้กับตัวเมียคล้ายคลึงกัน แต่มีส่วนต่างกันที่สี โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่เข้มกว่า ขณะที่ตัวเมียจะมีเส้นสีขาวผ่านจากใต้คอลงมาถึงหน้าด้านของลำคอ มีเส้นสีดำจากหลังตามาล้อมกรอบแถบสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 52-54.5 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย นกฟินฟุตเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่โดยปกติแล้วไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทย แต่จะอพยพผ่านเพื่อหากินและแพร่ขยายพันธุ์วางไข่เท่านั้น โดยจะพบในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ของภาคใต้ อาทิ เกาะตะรุเตา, ป่าพรุโต๊ะแดง, ทะเลบัน, ป่าชายเลนที่จังหวัดกระบี่ เป็นต้น และพบได้น้อยในพื้นที่ภาคกลาง จัดเป็นนกที่หายากมากชนิดหนึ่ง โดยมีสถานะใน IUCN อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ คาดว่าทั่วทั้งโลกมีจำนวนประชากรราว 2,500-9,900 ตัว
ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน วางไข่ในรังครั้งละ 5-7 ฟอง ไข่มีสีขาวเจือด้วยสีเขียวจาง ๆ มีจุดกลมเล็ก ๆ สีน้ำตาลกระจายไปทั่ว รังทำมาจากกิ่งไม้หรือเศษไม้ขัดกันในพื้นที่สูงจากพื้นราว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 37 เซนติเมตร ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

 

นกขมิ้น

ชื่อสามัญ : นกขมิ้น
ชื่อภาษาอังกฤษ : Canary
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim kim tước lông màu vàng
ชื่อภาษามาเลเซีย : Yang burung adalah
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Dilaw na mura
ชื่อภาษาบรูไน : Kenari
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Kenari
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Yang burung adalah
เป็นวงศ์ของนกที่มีสายวิวัฒนาการอยู่ระหว่างวงศ์นกแซงแซว (Dicruridae) และวงศ์นกกา (Corvidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Oriolidae แต่มีรูปร่างลักษณะและอุปนิสัย แตกต่างจากนกทั้งสองวงศ์นี้มาก คือ นกกาและนกแซงแซวส่วนใหญ่จะมีลำตัวเพรียว หางยาว หรือค่อนข้างยาว นิสัยค่อนข้างก้าวร้าวไม่กลัวคน แต่นกขมิ้นซึ่งเป็นนกที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดเล็ก มีความยาวตัวประมาณ 20-27 เซนติเมตร ขนาดเท่านกเอื้ยง หางสั้น สีตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง มีบางชนิดเป็นสีอื่นบ้าง จะงอยปากแข็งแรงและงุ้มลง ปีกยาวแหลม นกตัวผู้มีสีสดใสสวยงามกว่านกตัวเมีย ลูกนกมีลายขีดสีดำกระจายอยู่ทั่วบริเวณท้อง
นกขมิ้นเป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่าบก, ป่าชายเลน และตามสวนผลไม้ ส่วนใหญ่หากินอยู่ตามเรือนยอดหรือพุ่มใบของต้นไม้ รวมอยู่ กับนกชนิดอื่น ๆ เช่น นกแซงแซว, นกพญาไฟ และนกไต่ไม้ พบหากินเงียบ ๆ อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นล่าง กินผลไม้, แมลง และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร บินได้เร็วและทนนาน ชอบทำรังอยู่ตาม ง่ามไม้บนต้นไม้สูง รังอยู่สูงประมาณ 4-10 เมตร สร้างรังเป็นรูปถ้วย ก้นลึก ทำด้วยต้นหญ้าหรือเส้นใยพืชร้อยถักอย่างประณีต วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก นกขมิ้นชอบสร้างรังใกล้ ๆ รังของนกแซงแซวเพื่อให้นกแซงแซวช่วยป้องกันไข่และลูกนกจากศัตรู เนื่องจากนกแซงแซวจะป้องกันไข่และลูกนกของตัวเองจากศัตรู ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไข่ และลูกนกขมิ้นด้วย

 

220px-Greater_Sand_Plover ทราย

ชื่อสามัญ : นกหัวโตทรายใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ : Greater sand plover
ชื่อภาษาเวียดนาม : Plover cát lớn hơn
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Pekaka Sungai
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Mas malawak na buhangin plover
ชื่อภาษาบรูไน : Cerek-pasir besar
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Cerek-pasir besar
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Pekaka Sungai
มีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับนกชนิดอื่นในสกุลนกหัวโตเล็ก โดยลักษณะพิเศษประจำพันธุ์คือ เป็นนกขนาดเล็ก ความยาวจากปลายปากจรดปลายหาง ยาว 24 เซนติเมตร (ซม.) คล้ายนกหัวโตทรายเล็ก แต่ ตัวโตกว่าเล็กน้อย ปากมีสีดำ สันขากรรไกรบน ยาวมากกว่า 2 ซม. ขาและนิ้ว สีเทาออกเขียว หรือ ออกเหลือง โดยขาท่อนบน ยาวเท่ากับ หรือเกือบเท่ากับขาท่อนล่าง ขนคลุมลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล ขนคลุมหน้าผากจะมีสีน้ำตาลอ่อน และมีขีดคล้ายคิ้วสีขาวลากเหนือตาไปถึงตอนบนของขนคลุมหู มีแถบสีน้ำตาลลากจากโคนปาก ลากผ่านใต้ตาไปจนถึงขนคลุมหู หน้าอกมีแถบคาดอกสีน้ำตาล แต่ไม่ต่อกันตรงกลาง ด้านล่าง ใต้คอถึงอกตอนบน และ ท้องลงไปจนถึงขนคลุมใต้หาง สีขาว ปีกมีสีน้ำตาล แต่ขนปลายปีกจะมีสีดำ ขณะบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีกเช่นเดียวกับนกหัวโตทรายเล็ก แต่แถบจะใหญ่และชัดกว่า
ในตอนต้นฤดูผสมพันธุ์ นกตัวผู้จะมีการผลัดขนหน้าผากเป็นสีดำ และมีแต้มสีขาวล้อมรอบด้วยเส้นสีดำ แถบคาดตาสีขาว กระหม่อมและคอด้านบนสีน้ำตาลแดง ใต้คอและคอตอนล่างสีขาว อกสีแถบสีน้ำตาลแดง แต่ตอนกลางฤดูผสมพันธุ์จะมองไม่เห็นแต้มสีขาวที่หน้าผาก แต่กระหม่อม หน้าผาก และ แถบคาดอก จะเป็นสีส้ม หรือ น้ำตาลแดงเข้มชัดเจน แถบคาดอกจะต่อเป็นแถบเดียวกัน
พบการรวมฝูงเป็นฝูงขนาดเล็กหรือกลาง หากินในช่วงน้ำลงทั้งกลางวันและกลางคืน บินได้ดีมากและเร็ว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนีในทันที อาจหากินอยู่รวมกับนกชายเลนอื่นๆ โดยเฉพาะนกหัวโตทรายเล็ก ส่วนอาหาร ได้แก่ แมลง ตัวหนอน สัตว์น้ำต่างๆ เช่นหอย ปู ปลา กุ้ง บางครั้งกินผล ยอด และต้นอ่อนของพืชที่ขึ้นในน้ำเค็มบางชนิด

 

240px-Crested_Tern ใหญ่

ชื่อสามัญ : นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ : Greater crested tern
ชื่อภาษาเวียดนาม :
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung raja udang puncak
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Mahusay magkapalong tatlong bagay
ชื่อภาษาบรูไน : Besar Crested Tern
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Besar Crested Tern
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung raja udang puncak
เป็นนกทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae) จัดเป็นนกนางนวลแกลบที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวพอ ๆ กับนกนางนวลทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวลู่ลมตามประสานกนางนวลแกลบ แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่านกนางแกลบด้วยกันอย่างเห็นได้ชัดเจน มีจะงอยปากแหลมสีเหลืองที่ใช้ในการหาอาหาร ปลายปีกแหลมยาว และลักษณะเด่นอันที่มาของชื่อสามัญ คือ มีขนกระจุกบริเวณท้ายทอยเหมือนหงอน ซึ่งนอกฤดูผสมพันธุ์จะมีลายดำเปรอะเป็นขีด ๆ ตั้งแต่รอบตา แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์หงอนจะมีสีเข้ม เหมือนใส่หมวกสีดำ แลดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น
มีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างไกล พบได้ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ของแอฟริกา เรื่อยมาตามริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และรอบทวีปออสเตรเลีย รวมถึงหมู่เกาะในแถบนั้น
เป็นนกที่หากินด้วยการพุ่งตัวลงไปในทะเลจับปลากินเป็นอาหาร สามารถลงไปได้ลึกถึง 1 เมตร และบินได้ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 10 กิโลเมตร
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หนาแน่ตามชายฝั่งและเกาะ โดยจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองบนหลุมที่ขุดขึ้นบนดิน โดยในฝูงจะมีการป้องกันตัวจากนักล่าและปกป้องซึ่งกันและกัน ในประเทศไทย พบได้ตามอ่าวตะบูนและแหลมผักเบี้ย ในจังหวัดเพชรบุรี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

feral-pigeon

ชื่อสามัญ : นกพิราบ                                                                                                                               ชื่อภาษาอังกฤษ : Rock pigeon, Rock dove
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim bồ câu
ชื่อภาษามาเลเซีย : Pied burung raja udang
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Kalapati
ชื่อภาษาบรูไน : Merpati
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Merpati
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Pied burung raja udang

เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) โดยปกติคำว่า “นกพิราบ” จะหมายถึงนกพิราบเลี้ยง (รวมถึงนกพิราบแฟนซีด้วย) ส่วนนกพิราบนอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า “นกพิราบป่า” นกพิราบป่ามีขนสีเทาอ่อน มีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่ทั้งนกป่าและนกเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างระหว่างเพศเล็กน้อย นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียว มีลูกครั้งละ 2 ตัว พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงดู โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้ว ซึ่งนกพิราบป่านั้นเป็นที่รวมของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ อาทิ โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา, ปอดอักเสบ, ท้องเสีย, เครียด หรือแม้กระทั่งหมัดจากตัวนก นกพิราบมีถิ่นอาศัยในสิ่งแวดล้อมเปิดและกึ่งเปิดในพื้นที่เกษตรกรรมและในเมือง หน้าผาและขอบหินถูกใช้เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกในป่า นกพิราบมีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ก่อนที่จะแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นนกที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองได้ดีมาก คาดว่ามีประชากรนกในธรรมชาติประมาณ 17 – 28 ล้านตัวในยุโรป

ปัจจุบันนกพิราบเป็นนกที่พบได้ในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา นกพิราบ เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสมัยโบราณจะใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นนกที่มีประสาทสัมผัสเป็นอย่างดีในการที่จะหาทางกลับมาสู่ถิ่นฐานที่จากมา แม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตามด้วยการใช้สนามแม่เหล็กโลกแบบเดียวกับเต่าทะเล อีกทั้งยังใช้แสงแดดและจมูกในการดมกลิ่นอีกด้วย

 

ดาวน์โหลด (7) ไหน

ชื่อสามัญ : นกชาปีไหน หรือ นกกะดง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Nicobar pigeon, Nicobar dove
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim bồ câu Nicobar hoặc chim Kadg
ชื่อภาษามาเลเซีย : Blue ekor lebah pemakan
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Nicobar pigeons o ibon Kadg
ชื่อภาษาบรูไน : Merpati Nicobar atau burung Kadg
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Merpati Nicobar atau burung Kadg
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Blue ekor lebah pemakan
เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) นับเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ในสกุล Caloenas ในขณะที่ชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
นกชาปีไหน มีขนาดลำตัวเท่า ๆ กับไก่แจ้ มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40-41 เซนติเมตร มีลำตัวขนาดใหญ่ แต่มีหัวขนาดเล็กและมีเนื้อนูนเป็นตุ่มบริเวณจมูก ขนตามลำตัวเป็นสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว แต่จะมีขนบริเวณคอห้อยยาวออกมาเหมือนสร้อยคอ ซึ่งขนนี้จะยาวขึ้นเมื่อนกมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีขาขนาดใหญ่แข็งแรง เพราะเป็นนกที่ชอบเดินหากินตามพื้น
นกชาปีไหน แม้จะเป็นนกที่หากินบนพื้นดินเป็นหลัก แต่ก็เป็นนกที่สามารถบินได้ มีรายงานว่าสามารถบินข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ เป็นนกที่หากตกใจจะบินหรือกระโดดขึ้นบนต้นไม้ และไม่ค่อยส่งเสียงร้องนัก นานครั้งจึงจะได้ยินเสียงร้องทีหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์เฉพาะหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณทะเลอันดามันและอินโด-แปซิฟิก เช่น หมู่เกาะนิโคบาร์, หมู่เกาะอันดามัน, หมู่เกาะโซโลมอนและปาเลา ในประเทศไทยจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง โดยจะอาศัยอยู่ในป่าดิบหรือป่าชายหาดของหมู่เกาะสิมิลัน, หมู่เกาะสุรินทร์ หรือหมู่เกาะอ่างทอง เท่านั้น เป็นนกที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักรราช 2535

 

220px-Black-collared_Starling โครงดำ

ชื่อสามัญ : นกกิ้งโครงคอดำ หรือ นกเอี้ยงโครง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Starlings black frame or birds.
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim họ Sáo khung màu đen hoặc chim.
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Tiong Batu
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Starlings itim na frame o ibon.
ชื่อภาษาบรูไน : Jalak bingkai hitam atau burung.
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Jalak bingkai hitam atau burung.
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Tiong Batu
เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) เป็นนกที่มีรูปร่างอ้วนป้อม มีขนาดใหญ่กว่านกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน มีขนาดความยาวประมาณ 27 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีปากสีดำ หัวสีขาว มีหนังรอบตาสีเหลือง คอสีดำ ปีกและลำตัวด้านบนสีเท้ามีแถบสีขาวพาดขวาง 4-5 เส้น อก, ท้อง, ก้น, สะโพกและปลายหางสีขาว ในประเทศไทยพบได้แทบทุกภาคยกเว้นทางตอนใต้ของภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ในประเทศอินเดีย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคใต้ของจีน
เป็นนกที่กินเมล็ดพืชและธัญพืชเป็นอาหาร และกินสัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานได้ด้วย อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นดิน โดยมักส่งเสียงร้องเอะอะเสียงดังทั้งฝูงโดยเฉพาะเมื่อตกใจหรือเวลาถูกรบกวน เป็นนกที่อาศัยทั้งในท้องทุ่งหรือแหล่งเกษตรกรรม จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ เช่น สวนสาธารณะต่าง ๆ นกที่อาศัยอยู่ในเมืองมีพฤติกรรม นำเอาเศษวัสดุตามกองขยะ เช่น กระดาษ หรือถุงพลาสติก มาสร้างรัง วางไข่คราวละ 2-6 ฟอง กกไข่นาน 15-17 วัน จึงฟักออกเป็นตัว โดยรังเป็นรังแบบปิดมีทางเข้าออกแค่ทางเดียว ลักษณะรังเป็นรูปโดมขนาดใหญ่แขวนตามต้นไม้ ซึ่งนกในชุมชนเมืองอาจจะทำหลังใต้หลังคาบ้านของมนุษย์มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
นกกิ้งโครงคอดำ เป็นหนึ่งของนกในวงศ์นี้ที่สามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ จึงมีการนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

 

Peafowl_at_the_Taipei_Zoo ยูงไทย

ชื่อสามัญ : นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Green peafowl
ชื่อภาษาเวียดนาม : Thái Lan hoặc con công con công màu xanh lá cây
ชื่อภาษามาเลเซีย : Hoopoe
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Thailand o paboreal berdeng paboreal
ชื่อภาษาบรูไน : Thailand atau merak merak hijau
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Thailand atau merak merak hijau
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Hoopoe
เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับนกยูงอินเดียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกยูงสีฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavo cristatus) ที่ส่วนมากพบในอนุทวีปอินเดีย
นกยูงไทยเป็นนกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ นกตัวผู้อาจยาวได้ถึง 3 เมตรเมื่อรวมหาง อาจหนักถึง 5 กก. ตัวเมียยาว 1.1 เมตร หนักประมาณ 1.1 กก. ช่วงปีกกว้าง 1.2 เมตร นกตัวผู้ยังมีหงอนเป็นพู่สูงและมีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้าสลับสีเหลืองเห็นได้ ชัดเจน ขนลำตัวมีสีเขียวเป็นประกายแววเหลือบสีน้ำเงินบนปีกและสีทองแดงทางด้านข้าง ลำตัวดูเป็นลายเกล็ดแพรวพราวไปทั้งตัว ขนปีกบินสีน้ำตาลแดง ขนคลุมโคนหางยื่นยาวออกมาก มีสีเขียวและมีจุดดวงตากลมที่ขลิบด้วยสีฟ้าและสีน้ำเงิน นกตัวเมียลักษณะโดยทั่วไปคล้ายนกตัวผู้ แต่ขนสีเหลือบเขียวน้อยกว่าและมีประสีน้ำตาลเหลืองอยู่ทั่วไป ขนคลุมโคนหางไม่ยื่นยาวดังเช่นในนกตัวผู้ นกยูงไทยบินได้เก่งกว่านกยูงอินเดีย
นกตัวผู้ของสปีชีส์ย่อย imperator และ spicifer มีสีเขียวออกฟ้า ชนิดย่อยแรกมีสีเขียวเหลือบที่อก คอ ปีกด้านใน และด้านนอกขนปีกกลาง ชนิดหลังสีทึบกว่า อกและคอสีออกฟ้ากว่า มีสีดำมากกว่าตรงปีกด้านใน และด้านนอกขนปีกกลาง ขณะที่ชนิดย่อย muticus มีขนสีเขียวทองมีสีฟ้าเล็กน้อยบนคอและอก ขนอกและคออาจเปลี่ยนได้หลากหลายขึ้นอยู่กับอายุและเพศ[

 

กระเรียนไทย

ชื่อสามัญ : นกกระเรียนไทย หรือ นกกระเรียน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Thailand or flamingo flamingo
ชื่อภาษาเวียดนาม : Thái Lan hoặc flamingo flamingo
ชื่อภาษามาเลเซีย : Black Hornbill
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Thailand o plaminggo plaminggo
ชื่อภาษาบรูไน : Thailand atau flamingo flamingo
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Thailand atau flamingo flamingo
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Black Hornbill
เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 ม.สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และ สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตายนกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น”เกาะ”รูปวงกลมจากกก อ้อ และ พงหญ้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา คาดกันว่าประชากรมีเพียง 10 หรือน้อยกว่า (ประมาณ 2.5%) ของจำนวนที่มีอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1850 ประเทศอินเดียคือแหล่งที่มั่นของนกชนิดนี้ ที่ซึ่งนกเป็นที่เคารพและอาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตรใกล้กับมนุษย์ นกกระเรียนนั้นสูญหายไปจากพื้นที่การกระจายพันธุ์ในหลายๆพื้นที่ในอดีต นกกระเรียนไทยเป็นนกขนาดใหญ่ มีลำตัวและปีกสีเทา คอตอนบนและหัวเป็นหนังเปลือยสีแดงไม่มีขน ตรงกระหม่อมเป็นสีเทาหรือเขียว คอยาวเวลาบินคอจะเหยียดตรงไม่เหมือนกับนกกระสาซึ่งจะงอพับไปด้านหลัง ขนปลายปีกและขนคลุมขนปลายปีกสีดำ ขนคลุมขนปีกด้านล่างสีเทา ขนโคนปีกสีขาว ขายาวเป็นสีชมพู มีแผ่นขนหูสีเทา ม่านตาสีส้มแดง ปากแหลมสีดำแกมเทา นักวัยอ่อนมีปากสีค่อนข้างเหลืองที่ฐาน หัวสีน้ำตาลเทาหรือสีเนื้อปกคลุมด้วยขนนก

 

นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง

ชื่อสามัญ : นกกระจิบหญ้าท้องเหลือ                                                                                                  ชื่อภาษาอังกฤษ : Yellow-bellied Prinia
ชื่อภาษาเวียดนาม : Wren rời cỏ
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Belatuk Pinang Muda
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Wren iniwan ng damo
ชื่อภาษาบรูไน : Gelatik meninggalkan rumput
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Gelatik meninggalkan rumput
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Belatuk Pinang Muda
เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกยอดข้าวและนกกระจิบหญ้า พบในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจายพันธุ์ในประเทศบรูไน, กัมพูชา, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, ประเทศอินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย, และเวียดนาม
นกกระจิบหญ้าท้องเหลืองเป็นนกขนาดเล็ก หัวสีเทามีแถบสีขาวบริเวณหัวตา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเขียวเทา คอ และอกสีขาว ท้องและขนคลุมใต้โคนหางสีเหลือง หางยาวเรียงลดหลั่นกัน

 

220px-PiouPiou54 ขาว

ชื่อสามัญ : นกลุมพูขาว หรือ นกกระลุมพูขาว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Pied imperial pigeon
ชื่อภาษาเวียดนาม : Gầm ghì trắng hoặc chim Kralumpo trắng
ชื่อภาษามาเลเซีย : Putih bermata atau menelan
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : May patse-patse imperyal kalapati o ibon Kralumpo puti
ชื่อภาษาบรูไน : Pergam laut atau burung Kralumpo putih
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Pergam laut atau burung Kralumpo putih
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Putih bermata atau menelan
เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน รูปร่างคล้ายนกชนิดอื่นทั่วไปในวงศ์เดียวกัน ขนบริเวณหัวและลำตัวสีขาว ปลายปีกและขนหางมีสีดำ
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนและเกาะกลางทะเล มักหากินอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 15-30 ตัว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและบินเร็ว มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง กินเมล็ดพืชและผลไม้ เป็นอาหาร
มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกประถิ่นที่พบได้บ่อยพบบริเวณเกาะทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน พบหาได้ยากบนแผ่นดินใหญ่ อาจมีการย้ายถิ่นไปตามแหล่งอาหาร
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

 

แขกเต้า

ชื่อสามัญ : นกแขกเต้า
ชื่อภาษาอังกฤษ : Red-breasted parakeet
ชื่อภาษาเวียดนาม : Một loại két nhỏ
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Enggang Jambul Putih
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Munting loro
ชื่อภาษาบรูไน : Parkit
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Parkit
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Enggang Jambul Putih
เป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นเฉพาะภาคใต้เท่านั้นที่ไม่พบ นกชนิดนี้มีลำตัวขนาด 35 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอสั้น หางยาวแหลม ขนปกคลุมลำตัวสีสันสดใสตัวผู้ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างมีสีเขียวอ่อนอมฟ้า บริเวณอกสีชมพูแก้มส้ม หัวสีม่วงแกมเทาหน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตาทั้งสองข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากไปถึงแก้ม จะงอยปากบนสีแดงสด จะงอยปากล่างสีดำ ส่วนตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่หัวเป็นสีน้ำเงินแกมเทาจะงอยปากบนสีดำสนิท
นกแขกเต้าพบได้ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่พบน้อยมาก อาศัยอยู่ในป่าโปร่ง ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
อาหารของนกแขกเต้าได้แก่ เมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้ ยอดไม้ และ น้ำต้อย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินอยู่บนต้นไม้ นกแขกเต้าวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง มีระยะฟักไข่นาน 28 วัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

 

220px-Loriculus_galgulus_-Tanglin_Halt,_Singapore_-male-8_(2) หกเล็ก

ชื่อสามัญ : นกหกเล็กปากดำ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Barred eagle-owl
ชื่อภาษาเวียดนาม : Blue-quang treo vẹt
ชื่อภาษามาเลเซีย : Blue-dinobatkan tergantung burung kakak tua
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Blue-nakoronahan nakikipag-hang-loro
ชื่อภาษาบรูไน : Serindit melayu
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Serindit melayu
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Blue-dinobatkan tergantung burung kakak tua
เป็นนกแก้วสีเขียวขนาดเล็ก พบในประเทศไทยไปจนถึงบอร์เนียว กินดอกไม้ หน่ออ่อน ผลไม้ และเมล็ดเป็นอาหาร นกหกเล็กปากดำยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 12-14.5 เซนติเมตร ตัวป้อม คอสั้น หัวโต ปากเล็กหนาและค่อนข้างแบนข้าง สันปากบนโค้งงุ้มลงมา ปลายปากแหลม คลุมปลายปากล่าง ลิ้นสั้นเป็นก้อนเนื้อหนา โคนปากบนเป็นแผ่นหนังเปลือยเปล่านิ่มที่มีรูจมูก 2 รูป เปิดออก ปีกกว้างและปลายปีกแหลม ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนหางสั้นมากและปลายหางมน ขนหางมี 12 เส้น มีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ยื่นไปข้างหน้า 2 นิ้ว และยื่นไปข้างหลัง 2 นิ้ว ปากสีดำ ม่านตาสีน้ำตาลไหม้ ขาและนิ้วเท้าสีน้ำตาลออกเหลือง สองเพศมีสีแตกต่างกัน ตัวผู้ หัวและลำตัวสีเขียวสด ลำตัวส่วนบนมีสีเข้มกว่าลำตัวส่วนล่าง แต่กลางกระหม่อมมีแต้มสีน้ำเงิน กึ่งกลางหลังตอนบนเป็นแถบสีน้ำตาลเจือส้ม หลังตอนล่างมีแถบสีเหลืองพาดขวาง ตะโพกและขนคลุมบนโคนหางสีแดงสด ขนคลุมปีก ขนกลางปีกและขนปลายปีกมีครีบขนด้านในสีคล้ำ ขนคลุมใต้ปีกสีเขียว ใต้ปีกสีฟ้า หางสีเขียวสด แต่ใต้หางสีฟ้า ใต้คอและอกตอนบนเป็นแถบสีแดงสด สีข้างเจือสีเหลืองเล็กน้อย ตัวเมียหัวและลำตัวสีเขียวสดคล้ายตัวผู้ แต่สีหม่นกว่าเล็กน้อย ลำตัวส่วนล่างออกสีเหลือง แต้มสีน้ำเงินที่กลางกระหม่อมคล้ำกว่า และแถบสีส้มที่กลางหลังตอนบนแคบกว่า ไม่มีแถบสีแดงที่อกและแถบสีเหลืองที่หลังตอนล่าง
พบในประเทศไทยไปจนถึงบอร์เนียว ประเทศไทยพบในภาคใต้ ในจังหวัดกระบี่ พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส และยะลา

 

เค้าใหญ่พันสุมาตรา

ชื่อสามัญ : นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Blue-crowned hanging parrot
ชื่อภาษาเวียดนาม : Dilarang elang-owl
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Hantu Bubu
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Barred agila-bahaw
ชื่อภาษาบรูไน : Bubo sumatranus
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Bubo sumatranus
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Hantu Bubu
นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว หรือนกเค้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกทึดทือมลายู (Ketupa ketupu) ต่างกันที่ตรงที่มีขนคลุมขาท่อนล่าง จะงอยปากสีน้ำตาลอ่อน ตาสีน้ำตาล ขนหูใหญ่และยาวมากสีน้ำตาล อกสีน้ำตาล ท้องสีขาว ขนด้านบนมีลายขวางเล็ก ๆ สีเหลืองซีด ส่วนขนด้านล่างมีลายขวางเล็ก ๆ สีน้ำตาลปนพื้นขาว มีลายบั้งกระจายตรงขนปีก ในขณะที่ยังเป็นลูกนกหรือยังไม่โตเต็มที่ ขนตามลำตัวจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อน
พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบในแหลมมลายู โดยพบได้จนถึงหมู่เกาะซุนดา ในบริเวณที่เป็นที่ราบขึ้นไปถึงระดับสูง 600 เมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่แนวเทือกเขาตะนาวศรีเท่านั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 มีรายงานพบเป็นครั้งแรกในสวนผลไม้ที่อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง [2]นับเป็นนกเค้าแมวชนิดที่หายาก มีพฤติกรรมหากินทั้งกลางวันและกลางคืน ในขณะที่บินมักส่งเสียงร้อง ฮุก ไอ โอ และ อ๊าว ไปด้วย ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว อาหารที่กินเป็นสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู, กระรอก, นก, งู และแมลง

 

220px-Ashy_Minivet_(Pericrocotus_divaricatus)  ไฟ

ชื่อสามัญ : นกพญาไฟสีเทา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ashy Minivet
ชื่อภาษาเวียดนาม : Pericrocotus divaricatus
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Mas Padang
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Kulay-abo minivet
ชื่อภาษาบรูไน : Ashy minivet
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Ashy minivet
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Mas Padang
เป็นนกอยู่ในวงศ์ย่อย อีกา มีขนาดเล็กมากจนถึงขนาดกลาง ความยาวจากปลายปากจดหาง 20 ซม. มักพบอยู่เป็นฝูง และ อาจพบหากินร่วมกับ นกกินแมลง ชนิดอื่น
นกตัวผู้ หน้าผากและลำตัวด้านล่างสีขาว มีเส้นสีดำลากผ่านตากลางกระหม่อม และท้ายทอยสีดำ โคนขนปีกมีลายแถบสีขาว บางตัวอาจไม่มีลายสีขาวที่กลางปัก ขนหางคู่นอก ส่วนใหญ่เป็นสีขาว ไหล่ และ ขนคลุมหางด้านบน สีเทา
นกตัวเมีย ตั้งแต่ กระหม่อมลงไปถึงท้ายทอย และ ลำตัวด้านล่าง สีเทา บางส่วนของกระหม่อมจะมีสีเข้ม มีแถบสีขาวลากจากหน้าผากผ่านตา และ มีแถบสีดำจางๆบริเวณหน้าผาก

 

เค้าโมง หรือแมว

ชื่อสามัญ : นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Asian barred owlet
ชื่อภาษาเวียดนาม : Giờ hoặc kêu cú
ชื่อภาษามาเลเซีย : Jam atau tiupan burung hantu
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Oras o humyaw bahaw
ชื่อภาษาบรูไน : Jam atau bagasi burung hantu
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Jam atau bagasi burung hantu
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Jam atau tiupan burung hantu
นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย
นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง
มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า “นกเค้าโมง”
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคระ

 

เค้าเหยี่ยว

ชื่อสามัญ : นกเค้าเหยี่ยว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Brown Hawk-owl
ชื่อภาษาเวียดนาม : –
ชื่อภาษามาเลเซีย : Hawk Owl
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ :
ชื่อภาษาบรูไน : Elang Owl
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Elang Owl
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Hawk Owl
เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับนกเหยี่ยวหรืออินทรี มีลำตัวขนาดใหญ่ ปีกกว้างและกลมมน ตากลมโตสีเหลืองทอง ระหว่างตามีแถบคาดสีเหลือง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีกีกาหรือสีขาว มีลายจุดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง
มีขนาดใหญ่เต็มที่สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ หมู่เกาะอันดามันในทะเลอันดามัน จนถึงภาคใต้ของจีนและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคใต้, บางส่วนของภาคตะวันออก และจัดเป็นนกอพยพในภาคใต้ โดยพบในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน จนถึงป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศไทย พุทธศักราช 2535

 

นกกระเต็นเฮอร์คิวลิส

ชื่อสามัญ : นกกระเต็นเฮอร์คิวลิส
ชื่อภาษาอังกฤษ : Blyth’s kingfisher
ชื่อภาษาเวียดนาม : –
ชื่อภาษามาเลเซีย : Kingfisher Hercules.
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : –
ชื่อภาษาบรูไน : Kingfisher Hercules.
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Kingfisher Hercules.
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Kingfisher Hercules.
เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) นับเป็นนกระเต็นที่มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว และจีน สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกอพยกที่หายากมาก ในประเทศไทยมีรายงานพบที่ด้านตะวันตกของภาคเหนือ แต่ก็มีรายงานพบที่แม่น้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และที่อุทยานแห่งชาติดอยผาห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่านกกระเต็นเฮอร์คิวลิสจะเป็นนกที่ถิ่นกระจายพันธุ์ที่กว้าง แต่ถิ่นที่อาศัยกลับถูกจำกัดแคบ ๆ ตามแนวลำน้ำเท่านั้นซึ่งมักถูกบุกรุกและยึดครอง ประกอบกับมีจำนวนประชากรที่น้อย จึงเป็นนกที่หาตัวพบเห็นได้ยากมาก
ในประเทศไทยมีตัวอย่างอ้างอิงของนกกระเต็นเฮอร์คิวลิสเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น เป็นตัวอย่างนกตัวเมีย เก็บโดย นายกิตติ ทองลงยา จากบริเวณป่าริมน้ำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ปัจจุบันตัวอย่างอ้างอิงนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์รวบรวมตัวอย่างอ้างอิงทางชีววิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นตัวอย่าง หมายเลข CTNRC 53-331 จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย

 

นกกระเต็นธรรมดา

ชื่อสามัญ : นกกระเต็นน้อยธรรมดา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Common kingfisher
ชื่อภาษาเวียดนาม : Những con chim là
ชื่อภาษามาเลเซีย : Yang burung adalah
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Aling mga ibon ay
ชื่อภาษาบรูไน : Yang burung
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Yang burung
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Yang burung adalah
เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน่ารัก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16–18 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับนกกระเต็นชนิดอื่น ๆ แต่จะแตกต่างกันที่ตัวเมียมีโคนปากล่างและอาจทั้งปากล่างเป็นสีส้มแดงขณะที่ตัวผู้มีปากสีดำสนิท
นกกระเต็นน้อยธรรมดามีหัวและหน้าผากสีฟ้าอมเขียว สดใส มีจุดสีฟ้าอ่อนเล็ก ๆ เป็นแนวขวางถี่ ๆ หลายแนว คอสีขาว อกสีน้ำตาลแดง แก้ม และขนคลุมหูสีน้ำตาลแดง ปีกสีฟ้าอมเขียว มีจุดสีฟ้าอ่อนตรงแนวปีก หลังและตะโพกสีฟ้าสดใสมาก ๆ ขาและนิ้วเท้าเล็ก ๆ สีแดงสดใส เป็นนกขนาดเล็ก ยาว 16–18 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 8 เซนติเมตร หางสั้น นกวัยเล็กมีอกสีหม่นออกขาว ๆ เทา ๆ มีปากล่างสีแดง ขาและเท้าสีดำ และจะค่อย ๆ แดงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น

 

นกกินเปรี้ยว

ชื่อสามัญ : นกกินเปี้ยว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Collared kingfisher
ชื่อภาษาเวียดนาม : Sả khoang cổ
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Pekaka Sungai
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Collared susulbot
ชื่อภาษาบรูไน : Cekakak sungai
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Cekakak sungai
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Pekaka Sungai
นกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็น (Halcyonidae) มีส่วนหัวและลำตัวด้านบนสีเขียวแกมฟ้า รอบคอและลำตัวด้านล่างสีขาว ปีกสีฟ้า จะงอยปากใหญ่ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีเนื้อ มีพฤติกรรมหากินเป็นคู่ ตัวผู้และเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ตัวผู้จะมีสีสดใสกว่า กินปูก้ามดาบ หรือปูเปี้ยว เป็นอาหาร อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ตลอดจนแมลงและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ ทำรังโดยการขุดรูในโพรงดิน หรือในรังปลวกที่พบได้บริเวณต้นไม้
ด้วยความที่ชอบกินปูก้ามดาบ จึงพบบ่อยในป่าชายเลน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, เอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์ จนถึงโพลินีเซีย และออสเตรเลีย และแบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ถึง 50 ชนิด
ในประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยและพบได้ทุกฤดูกาล และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

กระเต็นขาวดำใหญ่

ชื่อสามัญ : นกกระเต็นขาวดำใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ : Crested kingfisher
ชื่อภาษาเวียดนาม : Bói cá lớn
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung raja udang puncak
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Magkapalong susulbot
ชื่อภาษาบรูไน : Jambul kingfisher
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Jambul kingfisher
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung raja udang puncak
เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นปักหลัก (Cerylidae) นกกระเต็นขาวดำใหญ่ เป็นนกกระเต็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ เพราะมีความยาวถึง 43 เซนติเมตร นับว่าเป็นนกระเต็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย และจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง ด้วยที่เป็นนกที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ตามแถบเทือกเขาหิมาลัย เช่น ภูฐาน และกระจายไปจนถึงภาคใต้ของจีน, คาบสมุทรเกาหลี และญี่ปุ่น
สำหรับในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จะพบได้ในประเทศไทย, ลาว และเวียดนาม ประเทศไทยจะพบได้เฉพาะผืนป่าตะวันตก เช่น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร อาศัยตามลำธารน้ำกลางป่าซึ่งเป็นแหล่งหากิน
นกกระเต็นขาวดำใหญ่ มีเสียงร้องว่า “แอ๊ก-แอ๊ก-แอ๊ก”

 

กระเต็นปักหลัก

ชื่อสามัญ : นกกระเต็นปักหลัก
ชื่อภาษาอังกฤษ : Pied kingfisher
ชื่อภาษาเวียดนาม : Bói cá nhỏ
ชื่อภาษามาเลเซีย : Pied burung raja udang
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : May patse-patse piskador
ชื่อภาษาบรูไน : Pied kingfisher
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Pied kingfisher
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Pied burung raja udang
นกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นปักหลัก(Cerylidae) ถือเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ceryle มีลักษณะทั่วไป คือ จะงอยปากยาวสีดำ หน้าและคางสีขาว มีแถบดำลากจากโคนปากผ่านตามาถึงท้ายทอย กระหม่อมสีดำมีขนยาวบริเวณหัวเป็นพู่เล็ก ๆ มีขนปกคลุมลำตัวสีขาว มีแถบดำ บริเวณเหนือหน้าอกและมีเส้นสีดำ ที่ใต้แถบสีดำ ปีกสีดำ ขอบและปลายขนปีกเป็นสีขาวคล้ายเกล็ดยาวสีขาว มีแถบดำใหญ่ก่อนถึงปลายหาง ขามีสีดำ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ตัวผู้มีแถบดำที่หน้าอก 2 แถบ ขณะที่ตัวเมียแถบดังกล่าวมีแค่ 1 แถบและไม่ต่อเนื่อง (แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดย่อย-ดูในตาราง)
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคซับซาฮาร่า และเอเชียใต้ตั้งแต่ตุรกีถึงอินเดีย และจีน ในประเทศไทยถือเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปตามริมแม่น้ำ, คลอง หรือทะเลสาบ โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือ
นกกระเต็นปักหลักส่งเสียงร้องสั้น ๆ ว่า “ชิชิริ-ชิชิริ” มีความสามารถกระพือปีกบินอยู่กับที่ในอากาศก่อนที่จะพุ่งตัวลงน้ำลงไปจับปลาได้ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

240px-Blue_tailed_bee_eater1 เขียว

ชื่อสามัญ : นกจาบคาหัวเขียว
ชื่อภาษาอังกฤษ : Blue-tailed bee-eater
ชื่อภาษาเวียดนาม : Blue-đuôi chim phướn
ชื่อภาษามาเลเซีย : Blue ekor lebah pemakan
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Blue-tailed pukyutan-mangangain
ชื่อภาษาบรูไน : Kirik-kirik laut
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Kirik-kirik laut
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Blue ekor lebah pemakan
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus เป็นนกในตระกูล Meropidae จัดเป็นนกอพยพชนิดหนึ่ง มีแหล่งผสมพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งอาจถูกจัดให้อยู่ในสปีชีส์เดียวกับนกจาบคาแก้มฟ้า (Merops persicus)
นกชนิดนี้มีรูปร่างเพรียว มีสีสันสวยงาม โดยจะมีสีเขียวเด่นเป็นพิเศษ บริเวณใบหน้ามีแต้มสีฟ้าเล็กๆ และมีแถบยาวสีดำอยู่ตรงดวงตา ขนที่คอเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาล หางเป็นสีห้า และจงอยปากสีดำ สามารถเจริญเติบโตได้ยาว 23-26 เซนติเมตร โดยรวมความยาวของขนหางตรงกลางสองเส้นที่ยาวกว่าบริเวณอื่นด้วย นกจาบคาหัวเขียวมีแหล่งผสมพันธุ์ในพื้นที่ชนบทกึ่งเขตร้อน อย่างเช่นในไร่ สวน นาข้าว หรือสวนสาธารณะ มักพบได้บ่อยครั้งบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กินแมลงชนิดต่างๆเป็นอาหารเหมือนนกจาบคาชนิดอื่น โดยเฉพาะผึ้ง ต่อ และแตน โดยจะโผลบินพุ่งออกจากที่พักเกาะไปจับเหยื่อกลางอากาศ เหยื่อจะถูกจับกลับไปที่พักเกาะ แล้วใช้จงอยปากจิกเหยื่อจนตายและเปลือกแข็งที่ห่อหุ้มร่างกายแตกออก สำหรับนกจาบคาชนิดนี้ พบว่าเหยื่อที่ล่ามีทั้งผึ้งและแมลงปอในปริมาณที่มากพอๆกัน
นกจาบคาหัวเขียวชอบสร้างรังอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ตามริมฝั่งแหล่งน้ำที่เป็นทรายหรือพื้นที่ราบเปิดโล่ง รังมีลักษณะเป็นเหมือนอุโมงค์ค่อนข้างยาว นกชนิดนี้จะวางไข่ทรงกลมสีขาวครั้งละ 5-7 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเฝ้าดูแลไข่ด้วยกัน นอกจากนี้ เวลาออกหากินหรือพักเกาะตามที่สูง ก็มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเช่นกัน

 

220px-Eurystomus_orientalis_-Miami_Metrozoo,_USA-8a ดง

ชื่อสามัญ : นกตะขาบดง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Dollar roller, Dollarbird, Oriental dollarbird
ชื่อภาษาเวียดนาม : Eurystomus orientalis
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Tiong Batu
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Dollarbird
ชื่อภาษาบรูไน : Tiong-lampu biasa
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Tiong-lampu biasa
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Tiong Batu
นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) มีขนาดเล็กกว่านกตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ซึ่งเป็นนกตะขาบ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย[3]เป็นนกที่มีลำตัวสีดำ จะงอยปากสีแดง เมื่อเพ่งในระยะใกล้จะเห็นลำตัวเป็นสีน้ำเงินเหลือบเขียวเข้ม ขณะที่บินจะปรากฏเป็นสีเงินที่บริเวณโคนปีกด้านนอก ขณะที่ยังเป็นนักวัยอ่อนจะมีลำตัวสีหม่น
พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียด้านเอเชียตะวันออก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย (มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและภาคอีสาน อาศัยทั้งในป่าเบญจพรรณ, ป่าทุติยภูมิ, บริเวณชายป่าดงดิบที่เป็นพื้นที่โล่ง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ราบจนถึงความสูงระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย

 

ดาวน์โหลด (7) กะราง

ชื่อสามัญ : นกกะรางหัวขวาน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Hoopoe
ชื่อภาษาเวียดนาม : Chim rẽ quạt
ชื่อภาษามาเลเซีย : Hoopoe
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Hoopoe
ชื่อภาษาบรูไน : Hoopoe
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Semacam burung
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Hoopoe
เป็นนกขนาดกลาง มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอนคล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วไปในประเทศไทย เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวเพรียวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือ มีหงอนคล้ายหมวกของพวกอินเดียแดงในอเมริกาสมัยก่อน ลำตัวมีลายขวางสีน้ำตาลอ่อน หรือขาวสลับดำ ปากยาวเรียวโค้ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่า และสีจางกว่าตัวผู้เล็กน้อย ขณะแม่นกกกลูกอยู่ในรัง จะมีต่อมขับของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นออกมา กลิ่นนี้มาจากต่อมน้ำมันไซ้ขน เชื่อกันว่านกกะรางหัวขวานใช้กลิ่นเหม็นนี้ป้องกันตัวไม่ให้สัตว์อื่นเข้าใกล้
นกกะรางหัวขวานกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในยุโรป, เอเชีย, และตอนเหนือของแอฟริกา, แอฟริกากึ่งซาฮาราและประเทศมาดากัสการ์ นกในยุโรปและตอนเหนือของเอเชียจะอพยพไปสู่เขตร้อนในฤดูหนาว เมื่อเทียบกับนกในแอฟริกาซึ่งเป็นนกประจำถิ่น ในประเทศไทย นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำถิ่นที่พบทั่วทั้งประเทศไทย
ชอบอยู่ตามทุ่งโล่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ และพื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งนาที่พอมีต้นไม้อยู่บ้าง อาจอยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบส่งเสียงร้อง”ฮูป ฮูป ฮูป” หรือ “ฮูป ปู ปู” เวลาเดินส่ายหัวไปมา คุ้ยเขี่ยหาแมลงและหนอนตามพื้นดิน ไม่ชอบอาบน้ำ แต่ชอบอาบทรายร้อนๆ แทนอาบน้ำ อาหารได้แก่ แมลง และตัวอ่อนของแมลง นกกระรางหัวขวานทำรังในซอกไม้หรือซอกกำแพงเก่าๆ รังสร้างด้วยฟางและเศษขน เป็นรังที่สกปรกมาก ในรังมีทั้งเศษอาหารและอุจจาระของตัวเอง วางไข่คราวละ 4-6 ฟอง ไข่สีฟ้าซีด ตัวเมียกกไข่ ส่วนตัวผู้จะหาอาหารมาให้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

 

เงือกดำ

ชื่อสามัญ : นกเงือกดำ
ชื่อภาษาอังกฤษ :
ชื่อภาษาเวียดนาม : Đen Hồng hoàng
ชื่อภาษามาเลเซีย : Black Hornbill
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Itim kalaw
ชื่อภาษาบรูไน : Hitam Hornbill
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Hitam Hornbill
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Black Hornbill
เป็นนกเงือกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง พบในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย, อินเดีย นกเงือกดำยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 75-80 เซนติเมตร นกตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่านกตัวเมียเล็กน้อย ลำตัวสีดำโดยตลอด ลำตัวส่วนบนเหลือบน้ำเงินเขียวเล็กน้อย (นกตัวผู้บางตัวมีแถบใหญ่เหนือตาคล้ายคิ้วสีขาว) เว้นแต่ปลายขนหางด้านนอก และหางด้านล่างค่อนไป ทางปลายเป็นสีขาว สันบนของจะงอยปากมีขนาดใหญ่ ขาและนิ้วเท้าสีดำ สองเพศมีลักษณะต่างกัน
นกตัวผู้ปากและโหนกสีเหลืองอ่อน หนังเปลือยเปล่ารอบตาและที่ใต้คอสีดำ ตาสีแดงเข้ม นกตัวเมียปากและโหนกสีดำ ม่านตาสีส้ม หนังเปลือยเปล่ารอบตาสีเนื้อ หนังเปลือยเปล่าใต้คอสีเหลืองอ่อน ตาสีน้ำตาลแดง
มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงต้นปีถึงกลางปีราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม ทำรังด้วยการใช้โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ที่สัตว์อื่นหรือนกอื่นเจาะทิ้งไว้

 

Goldenbacked_woodpecker ทอง

ชื่อสามัญ : นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Common flameback
ชื่อภาษาเวียดนาม : Dinopium javanense
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Belatuk Pinang Muda
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : Mga Karaniwang flameback
ชื่อภาษาบรูไน : Pelatuk besi
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Pelatuk besi
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Belatuk Pinang Muda
เป็นนกหัวขวานชนิดหนึ่ง มีลำตัวยาว 30 เซนติเมตร ขนด้านหลังและขนปีกสีเหลืองอมส้ม สะโพกสีแดงสด หางดำ อกและท้องมีจุดกลมสีขาวบนพื้นสีดำ ตัวผู้มีหัวและหงอนสีแดง ตัวเมียมีหัวและหงอนสีดำจุดขาว มีนิ้วยาว 3 นิ้ว ยื่นมาทางด้านหน้า 2 นิ้ว ด้านหลัง 1 นิ้ว ขนหางสั้นมีแกนขนที่แข็งแรง ใช้สำหรับการเกาะและไต่ต้นไม้ จะงอยปากแหลมยาวเรียว
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเขตชีวภาพซุนดา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
มีพฤติกรรมชอบอาศัยในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน ตลอดจนถึงสวนผลไม้ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร มักพบอยู่ตามลำพัง หรือเป็นคู่ตามโพรงไม้ ไต่ไม้เจาะเปลือกไม้หาแมลงกินด้วยการไต่จากโคนต้นในแนวดิ่ง มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย

 

250px-White_eye ธร

ชื่อสามัญ : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่น
ชื่อภาษาอังกฤษ : White-eyed River-Martin
ชื่อภาษาเวียดนาม : Trắng mắt hoặc nuốt
ชื่อภาษามาเลเซีย : Putih bermata atau menelan
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : White ang mata o lumulunok
ชื่อภาษาบรูไน : Putih bermata atau menelan
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Putih bermata atau menelan
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Putih bermata atau menelan
เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีสีดำออกเขียวเหลือบ ตะโพกขาว หางมีขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่นกวัยอ่อนไม่ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา สีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย พฤติกรรมเป็นที่ทราบน้อยมากรวมถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ คาดว่าเหมือนนกนางแอ่นชนิดอื่นที่บินจับแมลงกินกลางอากาศ และเกาะคอนนอนตามพืชน้ำในฤดูหนาว นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีความยาวจากปากจดหางประมาณ 12 -13 ซม. ความยาวเฉพาะหาง มากกว่า 9 ซม. ลำตัวสีดำสนิท มีเหลือบสีน้ำเงิน-เขียวเข้มบางส่วน บริเวณตะโพกสีขาวแยกบริเวณหลังสีดำเหลือบสีน้ำเงิน-เขียวเข้มและตอนบนของหางสีเดียวกันออกจากกัน หัวสีเข้มกว่าหลัง บริเวณคางมีกระจุกขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ไปถึงหลังส่วนบน ปีกสีดำ หางสีดำเหลือบเขียว ขนหางมนกลมแต่ขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวยาวประมาณ 10 ซม.ปลายแผ่เล็กน้อย มองเห็นได้ชัดเจน ชาวบ้านในบริเวณที่ค้นพบเรียกนกชนิดนี้ว่า “นกตาพอง” เนื่องจากลักษณะของตาที่มีวงขาวล้อมรอบ ขอบตาขาวเด่นชัด นัยน์ตาและม่านตาสีขาวอมชมพูเรื่อๆ ปากกว้างสีเหลืองสดแกมเขียว มีแต้มสีดำรูปโค้งที่ปากบน ขาและเท้าใหญ่แข็งแรงมีสีชมพู ไม่ส่งเสียงร้องในฤดูหนาว และเสียงร้องในช่วงผสมพันธุ์ยังไม่ทราบ
ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีหัวสีน้ำตาล คอแกมขาว ลำตัวออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย ไม่มีขนเส้นเรียวเล็กที่ปลายหาง[9] นกวัยอ่อนจะผลัดขนในเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพัน

 

เงือกหัวหงอก

ชื่อสามัญ : นกเงือกหัวหงอก
ชื่อภาษาอังกฤษ : White-crowned hornbill
ชื่อภาษาเวียดนาม : Niệc đầu trắng
ชื่อภาษามาเลเซีย : Burung Enggang Jambul Putih
ชื่อภาษาพม่า : –
ชื่อภาษาลาว : –
ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ : White-nakoronahan kalaw
ชื่อภาษาบรูไน : Enggang jambul
ชื่อภาษากัมพูชา : –
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย : Enggang jambul
ชื่อภาษาสิงคโปร์ : Burung Enggang Jambul Putih
เป็นนกเงือกชนิดหนึ่ง และเป็นชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Berenicornis นกเงือกหัวหงอกมีขนาดความยาว ลำตัวประมาณ 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่วนหัว คอ หน้าอก และปลายปีกของตัวผู้มีสีขาว นอกนั้นมีสีดำ ส่วนตัวเมียมีคอและตัวสีดำ ปากมีขนาดใหญ่สีเทาดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีหงอนขนเป็นสีขาว นกเงือกหัวหงอก ถือเป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนาน โดยจากการวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอพบว่าเก่าแก่ถึง 47 ล้านปีก่อน
พบในทวีปเอเชียแถบเกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย เวียดนาม เทือกเขาตะนาวศรี สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ และบางแห่งของภาคตะวันตก เช่นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อาหารได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็ก เช่น งู จิ้งเหลน กิ้งก่า รวมถึงผลไม้ชนิดต่าง ๆ ด้วย เช่น ผลไม้ ลูกไม้ นกเงือกหัวหงอกเป็นนกเงือกชนิดที่กินอาหารประเภทโปรตีนมากกว่าพืช และเคยล่าปลากินเป็นอาหารมาแล้วด้วย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ชอบส่งเสียงร้องดังอยู่เสมอ อาศัยตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลหรือสูงกว่า พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวหงอก เป็นลักษณะเดียวกับนกเงือกชนิดอื่น โดยตลอดชีวิตจะไม่มีการเปลี่ยนคู่เลย ตัวเมียจะวางไข่ในโพรงไม้ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาป้อนแม่นกและลูกนก

ใส่ความเห็น